การตรวจเครนหรือการตรวจสอบปั้นจั่นมีความสำคัญอย่างมากและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการของการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการทดสอบ

โดยให้วิศวกรมืออาชีพหรือวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้ดำเนินการเอกสารรายงานการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น นายจ้างจะต้องจัดให้มีเอกสารรายละเอียดคือข้อมูลการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นโดยวิศวกรเครื่องกลวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้รับรอง ถ่ายภาพของวิศวกรขณะทดสอบ พร้อมทำสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานให้กับพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ 

ขั้นตอนการตรวจเครน มีอะไรบ้าง

  • ทำการตรวจสอบโครงสร้างหลักของปั้นจั่นหรือเครน ตรวจสอบสภาพรอยเชื่อม สภาพน็อต รวมถึงการคลายตัว
  • ทำการตรวจสอบระบบต้นกำลังเครน ตรวจสอบระบบหล่อลื่นของเครนและตรวจสอบระบบเชื้อเพลิงระบบควบคุมไฟฟ้ามอเตอร์ ระบบระบายความร้อน ระบบต่อกำลังและระบบเบรคของเครน
  • ตรวจการเคลื่อนที่ของเครนหรือปั้นจั่นทำการตรวจสอบ Limit switches การทำงานของชุดควบคุมพิกัดการยก
  • ตรวจสอบสัญญาณเสียงและสัญญาณไฟเตือนของเครน ปั้นจั่น ตรวจสอบความสว่างของไฟเตือนและระบบการได้ยินของเสียงจะต้องชัดเจน
  • ตรวจสอบม้วนรอก สลิงเครน ตรวจเส้นผ่าศูนย์กลางสลิงโซ่ ตรวจดูการชำรุด การสึกหรอได้รับความเสียหาย
  • ทำการทดสอบพิกัดการยกโดยใช้น้ำหนักจริงเพื่อการทดสอบการยกอย่างปลอดภัย

ความถี่ในการตรวจเครน

เครนที่ใช้ในงานก่อสร้าง ให้ทดสอบไม่เกิน 3 ตัน สำหรับทุก 6 เดือน ทดสอบพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดส่วนเครนที่มากกว่า 3 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน สำหรับเครนหรือปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ ให้ทดสอบพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด  1-3 ตัน ทดสอบทุก 1 ปี 3-50 ตันให้ทดสอบทุก 6 เดือนและมากกว่า 50 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน

สำหรับน้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน ถ้าเป็นเครนใหม่หรือปั้นจั่นใหม่ขนาดไม่เกิน 20 ตันให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่าแต่ต้องไม่เกิน 1.25 เท่าแต่ถ้าเป็นปั้นจั่นใหม่มีขนาดมากกว่า 20 ตันไม่เกิน 50 ตันให้ทดสอบการน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย สำหรับปั้นจั่นที่ใช้งานแล้วให้ทดสอบน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุดแต่ไม่เกินพิกัดกันอย่างปลอดภัยและกรณีที่เครนไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดนั้นจะต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดการยกในการทดสอบแทน

ตรวจเครน มีขั้นตอนอย่างไรและมีวิธีการทดสอบอย่างไรบ้าง ทั้งหมดนี้คือสาระดีๆ ที่น่าสนใจ การตรวจเครนหรือการทดสอบปั้นจั่นมีความสำคัญมากๆ เพื่อให้อุปกรณ์นั้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยอยู่เสมอ